ธุรกิจโต๊ะจีนเมืองนครปฐมยังโตต่อเนื่อง กวาดรายได้ปีละ 2,000 ล้าน กลุ่มลูกค้าหลักกรุงเทพฯ ปริมณฑล พร้อมรุกเปิดตลาด สปป.ลาว เมียนมา กัมพูชา เผยงานแต่ง งานเลี้ยงสังสรรค์เอกชนฮอตฮิต ผู้ประกอบการเร่งปรับตัวรับแข่งขันสูง เน้นคุณภาพ ผ่านมาตรฐานกรมอนามัย จัดเซตราคา 1,600-2,000 บาท/โต๊ะ ให้เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจ
นายประพฤติ อรรฆธน ประธานชมรมธุรกิจโต๊ะจีนจังหวัดนครปฐม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แม้เศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศจะชะลอตัว แต่ธุรกิจโต๊ะจีนมีฐานลูกค้าและกำลังซื้อจากหลายระดับทั้งระดับรากหญ้า กลาง และสูง ซึ่งผู้ประกอบการแต่ละรายจะมีการจัดการ เงินทุน และแรงงานที่แตกต่างกัน โดยยังคงเน้นคุณภาพและการบริการเป็นหลัก
ทั้งนี้ ตลาดหลักจะอยู่ที่กรุงเทพฯและปริมณฑล รองลงมาคือ ภาคใต้ กลุ่มลูกค้าจะเป็นกลุ่มงานเลี้ยงสังสรรค์ งานแต่งงาน งานบวช ลูกค้าส่วนใหญ่จะรู้จักแบบปากต่อปาก และมีเว็บไซต์ของร้านเพื่อให้ลูกค้าเข้ามาดูข้อมูล ซึ่งธุรกิจโต๊ะจีนสร้างรายได้ให้จังหวัดนครปฐมกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี
ปัจจุบันชมรมธุรกิจโต๊ะจีนจังหวัดนครปฐมมีสมาชิก 44 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2558 กว่า 20% โดยสมาชิกทุกรายจะต้องผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานจากจังหวัดนครปฐม ทั้งเรื่องความสะอาดและมาตรฐานต่าง ๆ กว่า 32 ข้อจากกรมอนามัย
"แรงงานที่ทำงานกับเราทุกคนเป็นแรงานท้องถิ่น ไม่มีแรงงานต่างถิ่นหรือต่างด้าว ซึ่งทำให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น ที่สำคัญเราให้ค่าแรงมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน พนักงานล้างอุปกรณ์ได้ค่าแรง 400-600 บาท พนักงานเสิร์ฟ 600 บาท ผู้ช่วยกุ๊ก 800-1,000 บาท และกุ๊ก 1,000-1,200 บาท"
สำหรับราคาวัตถุดิบ เช่น ผักและผลไม้ที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงหน้าแล้ง ได้รับผลกระทบเพียง 5% โดยเฉพาะอาหารทะเล ขณะเดียวกันการแข่งขันค่อนข้างสูง เพราะนครปฐมมีผู้ประกอบการโต๊ะจีนกว่า 200 ราย มีการตัดราคากัน ดังนั้นผู้ประกอบการต้องดึงจุดเด่นของอาหาร เช่น ไก่ตอนนครปฐม เป็ดย่าง เป็ดพะโล้ และขาหมูตุ๋น เพื่อตีตลาดจังหวัดข้างเคียง เช่น สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี และปทุมธานี
นายประพฤติกล่าวอีกว่า ขณะนี้รับจัดโต๊ะจีนงานแต่งงานและงานเลี้ยงบริษัทในประเทศเพื่อนบ้านด้วย เช่น นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงสะหวันนะเขต เมืองปากเซ สปป.ลาว และเมืองท่าขี้เหล็ก เมียนมา ผ่านทาง อ.แม่สาย จ.เชียงราย และฝั่ง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ลูกค้ารู้จักแบบปากต่อปาก มาร์เก็ตแชร์ไทย 80% ลาว 10% และเมียนมา 10% ส่วนค่าธรรมเนียมผ่านแดน ค่าที่พัก รวม 35,000 บาท/ครั้ง ลูกค้าต้องจ่ายเพิ่ม ราคาโต๊ะจีนกรุงเทพฯและปริมณฑล 50 โต๊ะขึ้นไป ราคา 1,700 บาท/โต๊ะ ภาคอื่น 2,000 บาท/โต๊ะ และต่างประเทศ 3,500 บาท/โต๊ะ
ลุยอาเซียน - การแข่งขันของธุรกิจโต๊ะจีน จ.นครปฐม ค่อนข้างรุนแรง ที่มีกว่า 200 รายนั้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว ต่างมุ่งตลาดไปอาเซียน ปัจจุบันลาวและเมียนมามีมาร์เก็ตแชร์กว่า 20%
จากสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ธุรกิจโต๊ะจีนต้องปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารงาน เพราะลูกค้าต้องการราคาถูก คุ้มค่ากับคุณภาพและปริมาณของอาหาร ซึ่งทางร้านจะซื้อวัตถุดิบเป็นลอต และเก็บไว้ในห้องเย็นเพื่อลดต้นทุน ทำให้ได้ราคาถูกกว่าเจ้าอื่น ในส่วนของผักและผลไม้ที่แพงขึ้นนั้นก็กระทบเพียงเล็กน้อย
"เมื่อก่อนลูกค้าจองโต๊ะจีนราคา 2,000-2,500 บาท/โต๊ะ แต่ปัจจุบันลดลงเหลือ 1,600-2,000 บาท/โต๊ะ เดือนพฤศจิกายน-มกราคม จัดงานมากสุด โดยวัฒนธรรมคนกรุงเทพฯและปริมณฑลมีลักษณะเป็นสังคมเมือง จัดงานไม่ใหญ่ ใช้โต๊ะจีน 20-40 โต๊ะต่อ 10 ที่นั่ง ส่วนต่างจังหวัดจะเป็นสังคมชนบท จัดงานใหญ่ ใช้โต๊ะจีน 60-200 โต๊ะต่อ 8 ที่นั่ง คิดเป็นสัดส่วน 20:80 ลูกค้าจะรู้จักแบบปากต่อปาก"
สำหรับตลาดต่างประเทศนั้น มีนักธุรกิจไทยในกัมพูชาและเมียนมา จ้างให้จัดโต๊ะในงานเลี้ยงบริษัทที่ปอยเปต กัมพูชา ผ่าน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และท่าขี้เหล็ก เมียนมา ผ่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย แต่เป็นเพียง 10% ของมาร์เก็ตแชร์ ซึ่งลูกค้าจะต้องจ่ายส่วนต่างเพิ่มเติม ขณะเดียวกันจังหวัดชายแดนของไทย เช่น เชียงใหม่ สงขลา ก็มีการจัดโต๊ะจีนมากขึ้นด้วย
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
ทั้งนี้ ตลาดหลักจะอยู่ที่กรุงเทพฯและปริมณฑล รองลงมาคือ ภาคใต้ กลุ่มลูกค้าจะเป็นกลุ่มงานเลี้ยงสังสรรค์ งานแต่งงาน งานบวช ลูกค้าส่วนใหญ่จะรู้จักแบบปากต่อปาก และมีเว็บไซต์ของร้านเพื่อให้ลูกค้าเข้ามาดูข้อมูล ซึ่งธุรกิจโต๊ะจีนสร้างรายได้ให้จังหวัดนครปฐมกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี
ปัจจุบันชมรมธุรกิจโต๊ะจีนจังหวัดนครปฐมมีสมาชิก 44 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2558 กว่า 20% โดยสมาชิกทุกรายจะต้องผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานจากจังหวัดนครปฐม ทั้งเรื่องความสะอาดและมาตรฐานต่าง ๆ กว่า 32 ข้อจากกรมอนามัย
"แรงงานที่ทำงานกับเราทุกคนเป็นแรงานท้องถิ่น ไม่มีแรงงานต่างถิ่นหรือต่างด้าว ซึ่งทำให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น ที่สำคัญเราให้ค่าแรงมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน พนักงานล้างอุปกรณ์ได้ค่าแรง 400-600 บาท พนักงานเสิร์ฟ 600 บาท ผู้ช่วยกุ๊ก 800-1,000 บาท และกุ๊ก 1,000-1,200 บาท"
สำหรับราคาวัตถุดิบ เช่น ผักและผลไม้ที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงหน้าแล้ง ได้รับผลกระทบเพียง 5% โดยเฉพาะอาหารทะเล ขณะเดียวกันการแข่งขันค่อนข้างสูง เพราะนครปฐมมีผู้ประกอบการโต๊ะจีนกว่า 200 ราย มีการตัดราคากัน ดังนั้นผู้ประกอบการต้องดึงจุดเด่นของอาหาร เช่น ไก่ตอนนครปฐม เป็ดย่าง เป็ดพะโล้ และขาหมูตุ๋น เพื่อตีตลาดจังหวัดข้างเคียง เช่น สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี และปทุมธานี
นายประพฤติกล่าวอีกว่า ขณะนี้รับจัดโต๊ะจีนงานแต่งงานและงานเลี้ยงบริษัทในประเทศเพื่อนบ้านด้วย เช่น นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงสะหวันนะเขต เมืองปากเซ สปป.ลาว และเมืองท่าขี้เหล็ก เมียนมา ผ่านทาง อ.แม่สาย จ.เชียงราย และฝั่ง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ลูกค้ารู้จักแบบปากต่อปาก มาร์เก็ตแชร์ไทย 80% ลาว 10% และเมียนมา 10% ส่วนค่าธรรมเนียมผ่านแดน ค่าที่พัก รวม 35,000 บาท/ครั้ง ลูกค้าต้องจ่ายเพิ่ม ราคาโต๊ะจีนกรุงเทพฯและปริมณฑล 50 โต๊ะขึ้นไป ราคา 1,700 บาท/โต๊ะ ภาคอื่น 2,000 บาท/โต๊ะ และต่างประเทศ 3,500 บาท/โต๊ะ

จากสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ธุรกิจโต๊ะจีนต้องปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารงาน เพราะลูกค้าต้องการราคาถูก คุ้มค่ากับคุณภาพและปริมาณของอาหาร ซึ่งทางร้านจะซื้อวัตถุดิบเป็นลอต และเก็บไว้ในห้องเย็นเพื่อลดต้นทุน ทำให้ได้ราคาถูกกว่าเจ้าอื่น ในส่วนของผักและผลไม้ที่แพงขึ้นนั้นก็กระทบเพียงเล็กน้อย
"เมื่อก่อนลูกค้าจองโต๊ะจีนราคา 2,000-2,500 บาท/โต๊ะ แต่ปัจจุบันลดลงเหลือ 1,600-2,000 บาท/โต๊ะ เดือนพฤศจิกายน-มกราคม จัดงานมากสุด โดยวัฒนธรรมคนกรุงเทพฯและปริมณฑลมีลักษณะเป็นสังคมเมือง จัดงานไม่ใหญ่ ใช้โต๊ะจีน 20-40 โต๊ะต่อ 10 ที่นั่ง ส่วนต่างจังหวัดจะเป็นสังคมชนบท จัดงานใหญ่ ใช้โต๊ะจีน 60-200 โต๊ะต่อ 8 ที่นั่ง คิดเป็นสัดส่วน 20:80 ลูกค้าจะรู้จักแบบปากต่อปาก"
สำหรับตลาดต่างประเทศนั้น มีนักธุรกิจไทยในกัมพูชาและเมียนมา จ้างให้จัดโต๊ะในงานเลี้ยงบริษัทที่ปอยเปต กัมพูชา ผ่าน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และท่าขี้เหล็ก เมียนมา ผ่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย แต่เป็นเพียง 10% ของมาร์เก็ตแชร์ ซึ่งลูกค้าจะต้องจ่ายส่วนต่างเพิ่มเติม ขณะเดียวกันจังหวัดชายแดนของไทย เช่น เชียงใหม่ สงขลา ก็มีการจัดโต๊ะจีนมากขึ้นด้วย
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
updated: 03 มิ.ย. 2559 เวลา 10:45:56 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น