วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สมุนไพรจีนและอาหารจีน

หากพูดถึงสมุนไพร เราต่างก็รู้จักกันดี ในแต่ละท้องถิ่นของแต่ละประเทศ มีการใช้สมุนไพรมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ โดยภูมิปัญญาเหล่านั้นบรรพบุรุษของแต่ละเผ่าพันธุ์ได้ลองผิดลองถูกและจดบันทึกไว้สืบทอดมาจนถึงลูกหลานในปัจจุบัน จนสามารถนำมาใช้ได้อย่างมั่นใจในสรรพคุณ เช่นเดียวกับคนไทยที่มีตำรายาโบราณที่มีส่วนผสมของสมุนไพรมากมายหลายชนิด ซึ่งบางตำราก็ไม่ใช่สมุนไพรไทยทั้งหมดยังมีสมุนไพรจีนผสมหรือแทรกเข้ามาด้วย

ในตำราแพทย์แผนจีนโบราณได้รวบรวมแนวทางหลักในการรักษาผู้เจ็บป่วยไว้ 2 ประการคือ
1. การรักษาแบบองค์รวมเป็นการรักษาที่ครอบคลุม
2. การรักษาที่ดูจากสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์จีนจะแบ่งพื้นฐานสุขภาพ
ออกเป็น 4 แบบ คือ
2.1 พวกหยางแข็งแรง
2.2 พวกหยินแข็งแรง
2.3 พวกหลางอ่อนแอ
2.4 พวกหยินอ่อนแอ

การรักษาของแพทย์จีน จึงเน้นไปที่การปรับสมดุลมีหลายวิธีเช่น การฝังเข็ม การนวดกดจุด การใช้สมุนไพร

เราจะมาพูดถึงพืชผักที่มักเจอในอาหารจีนกันดีกว่า แยกเป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ต่างกันดังนี้
 สมุนไพรจีนที่มีฤทธิ์อุ่น
1. กุยช่าย สรรพคุณ มีฤทธิ์อุ่นรสเผ็ด แก้อักเสบและการติดเชื้อ แก้ผื่นคันและแมลงกัดต่อย แก้หวัด แก้ท้องผูก รักษาอาการแน่นอก และอาเจียนเป็นเลือด ข้อควรระวัง ผู้ที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี ไม่ควรกิน
 2. เกาลัด ภาษาจีนเรียกว่า “ เลียกก้วย ” สรรพคุณ มีรสหวานบำรุงไต กล้ามเนื้อ ม้าม และกระเพาะอาหาร แก้ร่างกายอ่อนแอ แก้ไอละลายเสมหะ ท้องเดิน แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ข้อควรระวัง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารไม่ควรกิน ผู้ที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ ร้อนใน ตาบวมห้ามกิน
 3. ขิง ภาษาจีนเรียกว่า “ จี๋เกีย ”หมายถึงขิงอ่อนส่วนขิงแก่เรียกว่า “ บอเกีย ” สรรพคุณ ช่วยย่อยอาหารขับเหงื่อ แก้ไอ แก้อาการเมารถเมาเรือ ท้องเสีย รักโรคกระเพาะ ช่วยการไหลเวียนของเลือด ข้อควรระวัง ผู้ที่มีอาการร้อนใน คอแห้ง เจ็บคอ ไม่ควรกิน

 สมุนไพรจีนที่มีฤทธิ์เย็น
1. เก๊กฮวย สรรพคุณ ช่วยขับพิษ ขับลม ขับเหงื่อ แก้ร้อนใน ข้อควรระวัง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่ายควรกินแต่พอเหมาะ
 2. ขึ้นฉ่าย ภาษาจีนเรียกว่า “ เอียงคึ้ง ”ฝรั่งเรียกว่า “ เซเลอรี่ ” สรรพคุณ ประระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ บรรเทาอาการปวด จากโรคเกาต์ ข้อควรระวัง ผู้ที่มีท้องเดินเรื้อรังไม่ควรกินมาก
 3. ถั่วเขียว ภาษาจีนเรียกว่า “ แชเซียวเต่า ” สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ รักษาอาการบิด ลดความดันโลหิต ข้อควรระวัง ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับม้าม หรือท้องเสียบ่อยๆ ไม่ควรกิน

 สมุนไพรจีนที่มีฤทธิ์เป็นกลาง
1. งา ภาษาจีนเรียกว่า “ อิ่วมั๊ว ” สรรพคุณ แก้ท้องผูกทำให้ลำไส้ชุ่มชื่นรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ข้อควรระวัง ไม่มี
 2. เผือก ภาษาจีนเรียกว่า “ โอ่วไน ” “ โอ่วถึง ”หรือ “ โทวจือ ” สรรพคุณ ป้องกันฟันผุ ทำให้กระดูกฟันแข็งแรง บำรุงไต ลำไส้และแก้อาการท้องเสีย ข้อควรระวัง ไม่ควรกินเผือกดิบ เพราะมีพิษ การกินเผือกมากเกินไปจะทำให้ม้ามทำงานได้อย่างไม่ปกติ
3. รังนก ภาษาจีนเรียกว่า “ เอี่ยง ” สรรพคุณ บำรุงร่างกาย ปอด ไต และม้าม บำรุงกำลังแก้อ่อนเพลียแก้ไอ ลดเสมหะ แก้ร้อนใน หอบหืด และห้ามเลือด ข้อควรระวัง รังนกมีราคาแพงการเลือกซื้อควรระวังรังนกปลอม

ในอาหารโต๊ะจีนหลายๆ อย่างก็จะมีสมุนไพรปะปนกันไป นับว่าเป็นภูมิปัญญาชั้นเลิศที่ได้สืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษชาวจีนแผ่นดินใหญ่โดยแท้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น